English

เอกสารประชาสัมพันธ์การประมูล

ภูมิภาคธรณีวิทยาปิโตรเลียมทะเลอ่าวไทย


ธรณีวิทยาของแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G2/61

         แปลงสำรวจหมายเลข G2/61 อยู่ในแอ่งมาเลย์เหนือ (North Malay Basin) ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 18,000 ตารางกิโลเมตร และมีการผลิตก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก เช่น ในแหล่งบงกช (แปลง G2/61) และแหล่งอาทิตย์ เป็นต้น
          แอ่งมาเลย์เหนือเริ่มเปิด (Rifting Phase) ในช่วงอายุประมาณอีโอซีนตอนปลาย (Late Eocene) ถึงอายุประมาณ
โอลิโกซีนตอนปลาย (Late Oligocene) มีการสะสมตะกอนและจมตัว (Post-Rift & Thermal Sag) อย่างต่อเนื่องตั้งแต่
อายุไมโอซีนตอนต้นจนถึงปัจจุบัน (Early Miocene-Recent) โครงสร้างหลักประกอบด้วยรอยเลื่อนปกติ (Normal Fault)
ที่มีการวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ และตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรอยเลื่อนดังกล่าวทำให้แอ่งมีลักษณะ
เป็นรูปกราเบน (Graben) และกึ่งกราเบน (Half-Graben) การลำดับชั้นหิน (Stratigraphy) ของแอ่งมาเลย์เหนือ
แบ่งออกเป็น 4 ชุดหิน ดังแสดงในรูปที่ 3
รูปที่ 3 การลำดับชั้นหิน (Stratigraphy) การแปรสัณฐาน (Tectonics) และสภาพแวดล้อมบรรพกาล (Palaeoenvironment) ของแอ่งมาเลย์เหนือ (ดัดแปลงจาก PTTEP, 2015)